สถานีขนส่งผู้โดยสารทั่วประเทศมีจำนวน
103 แห่ง ถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 75 แห่ง ดำเนินงานโดยเอกชน 18 แห่ง
ดำเนินงานโดยบริษัทขนส่งจำกัด 8 แห่ง เทศบาลจัดตั้งเอง 2 แห่ง (กรมการขนส่งทางบก, 2554) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
เป็นหนึ่งในสถานีขนส่งผู้โดยสารที่รับถ่ายโอนภารกิจจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
ในภารกิจความรับผิดชอบที่รับถ่ายโอน จำนวน 15 ภารกิจ เป็นภารกิจที่สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปางได้ดำเนินการมาก่อนถ่ายโอน และส่งมอบให้เทศบาลนครลำปางดำเนินการต่อ
ทั้งอาคาร สถานที่ บุคลากรเฉพาะพนักงานจ้าง วัสดุ
ครุภัณฑ์ และในส่วนของสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
กรมการขนส่งทางบกมีภารกิจงานต้องดำเนินการกับสถานีขนส่งผู้โดยสาร
ที่กำหนดเป็นอำนาจหน้าที่ของ นายสถานีขนส่ง จำนวน 10 ภารกิจ
(คู่มือการปฏิบัติงานสถานีขนส่งผู้โดยสาร.กรมการขนส่งทางบก, 2551)
เทศบาลนครลำปางได้รับการถ่ายโอนสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปา'ง
จากสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง กรมการขนส่งทางบก
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542
แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2543 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม
2550 บนเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 98 ตารางวา มีอาคาร 2
ชั้น จำนวน 1 หลัง มีช่องจอดรถในสถานี 16 ช่อง
มีเส้นทางการเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด จำนวน 58 เส้นทาง
เฉลี่ยวันละ 500 เที่ยว มีผู้มาใช้บริการตลอด
ทั้งวัน เฉลี่ยวันละ 2,000 คน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
มีบริษัทผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง 21 บริษัท (ข้อมูลโครงการตรวจติดตามและกำกับดูแลสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2553) การบริหารงานสถานีขนส่งผู้โดยสารให้เป็นไปตามภารกิจงาน 15
ภารกิจ ที่ได้รับการถ่ายโอนอย่างมีคุณภาพ
และมาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลนครลำปาง
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2542
มาตรา 16 “ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์กรการบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง
ดังนี้
(3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด
ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
(26) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร”
มาตรา 17 “ภายใต้บังคับมาตรา 16
ให้องค์กรบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจ
และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง
ดังนี้
(13) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ”
วัตถุประสงค์การถ่ายโอนภารกิจ
1) เพื่อสร้างระบบในการถ่ายโอนภารกิจเกี่ยวกับสถานีขนส่ง
2) เพื่อจัดทำหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานีขนส่ง
3)
เพื่อจัดทำมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับเป็นแนวทางในการวางแผนทางกายภาพของสถานีขนส่ง
ขอบเขตของมาตรฐานการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่ง
ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
ภารกิจเกี่ยวกับสถานีขนส่งที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมการขนส่งทางบกมีจำนวนมาก
ทั้งภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการสถานี (เช่น การบริหารช่องจอดรถ
การจัดระบบจราจร ฯลฯ) และภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมและกำกับดูแล เช่น
การตรวจสอบว่าการดำเนินกิจการสถานีเป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ
หรือไม่ การบริหารงานในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดการขาดประสิทธิภาพ
และไม่เอื้อต่อการพัฒนาการให้บริการได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงมีแนวคิดที่จะแยกภารกิจที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการสถานีออกจากภารกิจที่เกี่ยวกับการควบคุมและกำกับดูแล
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับโอนภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการสถานีทั้งสิ้น
จำนวน 15 ภารกิจ ได้แก่
1) การบริหารช่องจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสารของรถโดยสารประจำทาง
2) การบริหารพื้นที่ลานจอดรถ
3) การจัดพื้นที่จำหน่ายตั๋วรถโดยสาร
4) การจัดระบบการจราจรภายในสถานี
5) การรักษาความสะอาดภายในสถานี
6) การรักษาความปลอดภัย
7) การประชาสัมพันธ์และบริการข้อมูลการเดินทาง
8) การควบคุม
ดูแล การติดตั้งป้ายโฆษณาในบริเวณสถานี
9) การจัดให้มีบริการห้องสุขา
10) การจัดให้มีบริการจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดและเครื่องดื่ม
11) การจัดให้มีบริการรับฝากของ
12) การจัดให้มีบริการรถรับจ้าง
13) การจัดให้มีบริการรถเข็นสัมภาระ
14) การเก็บเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
15) การจัดหา ดูแล ซ่อมแซม
บำรุงรักษาอาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์
ภารกิจถ่ายโอนสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
กำหนดโครงสร้างตามมาตรฐานสถานีขนส่งทางบก
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (มาตรฐานที่ ๑.๗
และมาตรฐานที่ ๔.๓ (ตารางที่ ๒.๑๓)) เป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักปลัดเทศบาล
เทศบาลนครลำปาง การบริหารงานให้เป็นไปตามกฎ
ระเบียบของทางราชการในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
จัดทำประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานสถานีขนส่ง
(หัวหน้าส่วนราชการภายนอกร่วมเป็นคณะกรรมการ) และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสถานีขนส่ง (ผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด)
รวมถึงการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง)
ประจำปีเป็นค่าใช้จ่ายตามเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสารที่จัดทำขึ้นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.2541 ในส่วนของรายได้จากการจัดเก็บทั้งหมดของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) เป็นรายรับของสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง) โดยตรงการบริหารจัดการสถานีขนส่งผู้โดยสารอย่างมีคุณภาพ
และมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดและเคยดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้จัดทำมาตรฐานสถานีขนส่งทางบกขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับโอนจากกรมการขนส่งทางบกทั้ง
15 ภารกิจ ที่ถือเป็นภารกิจด้านการบริการสาธารณะที่สำคัญอีกภารกิจหนึ่งของเทศบาลนครลำปาง
ที่ต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับถ่ายโอนภารกิจมาจากสำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง
กรมการขนส่งทางบก และยึดถือหลักในการทำงาน คือ “การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
จะต้องดีขึ้น หรือไม่ต่ำกว่าเดิม มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน
มีการบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบต่อผู้มาใช้บริการให้มากขึ้น” โดยสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
เทศบาลนครลำปางมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. ด้านการบริหาร
ประกอบด้วย
1) การบริหารช่องจอดรถรับ–ส่งผู้โดยสารของรถประจำทาง
คือ จัดช่องจอดรถรับส่งผู้โดยสารประจำทาง เป็นการจัดระเบียบการเข้าใช้สถานีฯ
ของรถโดยสารแต่ละเส้นทางอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
ติดตั้งป้ายแสดงเครื่องหมายประจำในแต่ละช่องจอดแจ้งรายละเอียดกำหนดเวลาเข้า–ออกของรถโดยสารแต่ละเส้นทางให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการขนส่งและผู้ใช้บริการได้รับทราบตามระเบียบที่กำหนด
2) การบริหารพื้นที่ลานจอดรถ
จัดพื้นที่ลานจอดรถในส่วนที่ไม่ใช่เป็นช่องจอดรถรับส่งผู้โดยสารประจำทางสำหรับใช้เป็นที่จอดรถประเภทอื่น
เช่น รถรับจ้าง รถส่วนบุคคล กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้บริการที่จอดรถ
จัดเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกและจัดการจราจรภายในสถานีขนส่ง
มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอำนวยความสะดวกการจราจรเข้าออกสถานีขนส่ง
3) การจัดพื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร
จัดพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการขนส่งใช้เป็นสถานที่จำหน่ายตั๋วโดยสารอย่างเพียงพอและเป็นระเบียบ ติดตั้งป้ายแสดงช่องจำหน่ายตั๋วในแต่ละเส้นทางพร้อมป้ายแสดงอัตราค่าโดยสารและรายละเอียดเส้นทางการให้บริการของแต่ละเส้นทางอย่างชัดเจน
4) การจัดระบบการจราจรภายในสถานีขนส่ง
ดำเนินการติดตั้งป้ายแนะนำและเครื่องหมายจราจรภายในสถานีขนส่งให้เป็นมาตรฐานชัดเจน
เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้มาใช้บริการ
ประสานงานกับงานรักษาความสงบเรียบร้อย (เทศกิจ) สำนักปลัดเทศบาล และงานจราจร
สถานีตำรวจภูธรเมืองลำปางดำเนินการจัดระเบียบการจราจรในสถานีขนส่ง
5) การรักษาความสะอาดภายในบริเวณสถานีขนส่ง
กำกับ ดูแล การรักษาความสะอาดตัวอาคาร สถานที่ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้บริการประชาชน
ปรับปรุงภูมิทัศน์ และบริเวณรอบสถานี
รวมทั้งการเก็บขนขยะที่เกิดขึ้นภายในบริเวณสถานีฯ ให้สะอาด เรียบร้อย
สวยงามตลอดเวลา โดยจ้างเหมาเอกชนเข้ามาดำเนินการรักษาความสะอาด
6) การรักษาความปลอดภัย จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการสถานีขนส่ง โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด จ้างเหมาเอกชนรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสารวัตรทหารคอยให้บริการเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประจำสถานีขนส่ง
7) การประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลการเดินทาง
จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ
การเดินรถโดยสารประจำทาง แนะนำเส้นทาง รวมทั้งข้อแนะนำอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการโดยสารรถมีแผ่นพับและแผนที่การท่องเที่ยวไว้บริการ
มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาค่อยให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประจำสถานีขนส่ง
8) การควบคุมดูแลการติดตั้งป้ายโฆษณาในบริเวณสถานีขนส่ง
การอนุญาตให้ติดตั้งป้ายโฆษณา
จัดทำในรูปของคณะกรรมการขับเคลื่อนสถานีขนส่งเทศบาลนครลำปาง
และคณะกรรมการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของเทศบาล พิจารณาถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายโฆษณา ตำแหน่งที่ตั้ง รูปแบบ ภาพ
และข้อความบรรยาย โดยคำนึงถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม และผลกระทบทางการเมือง และกฎหมาย
ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและเทศบาลเป็นสำคัญ
9) การจัดให้มีการบริการห้องสุขา ต้องควบคุม กำกับดูแลการรักษาความสะอาด
กำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมแก่ประชาชน อาจดำเนินการเอง
หรือให้เอกชนเช่าสถานที่ดำเนินการ
10) การจัดให้มีบริการจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดและเครื่องดื่ม
ต้องจัดร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดและเครื่องดื่มให้บริการแก่ประชาชนในบริเวณสถานีขนส่ง
โดยจะดำเนินการเอง
หรือให้เอกชนเช่าสถานที่ดำเนินการตามระเบียบการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของเทศบาลนครลำปาง
กำหนดให้มีป้ายแสดงราคาสินค้าอย่างชัดเจน ควบคุมราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
11) การจัดให้มีบริการรับฝากของ ควบคุม กำกับ
ดูแลอัตราค่ารับฝากของอย่างเป็นธรรมทำป้ายแสดงอัตราค่าบริการอย่างชัดเจน
เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอกับภารกิจ
เทศบาลนครลำปางจึงให้ผู้ประกอบการร้านค้าดำเนินการแทน
12) การจัดให้มีการบริการรถรับจ้าง จัดสถานที่สำหรับจอดรถรับจ้างสาธารณะ เช่น
รถแท็กซี่ รถสองแถว สามล้อรับจ้าง มอเตอร์ไซด์รับจ้าง
คอยให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ติดตั้งป้ายแสดงอัตราค่าบริการสำหรับรถรับจ้างแต่ละประเภทให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
สหกรณ์เดินรถลำปางเป็นผู้กำกับดูแล
เทศบาลนครลำปางจัดพื้นที่จอดรถเป็นระเบียบเรียบร้อย
13) การจัดให้มีบริการรถเข็นสัมภาระ เทศบาลนครลำปางเห็นว่าส่วนใหญ่ผู้ประกอบการเดินรถจะให้บริการรถเข็นสัมภาระกับลูกค้าที่มาใช้บริการอยู่แล้ว
จึงไม่ดำเนินการ แต่ได้จัดให้มีรถเข็นสัมภาระไว้บริการฟรี จำนวน 2 คัน
14) การเก็บเงินค่าบริการสถานีขนนส่ง
ต้องดำเนินการจัดเก็บรายได้ค่าบริการสถานีขนส่งให้เป็นไปตามอัตราที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปางจัดเจ้าหน้าที่จัดเก็บค่าบริการตลอด 24 ชั่วโมง
15) การจัดหา ดูแล ซ่อมแซม
บำรุงรักษาอาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ ตรวจสอบดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานีขนส่ง
สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการสถานีขนส่งให้มีความสะอาด เรียบร้อย
สามารถใช้งานได้อย่างทันท่วงที มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ปรับปรุง ซ่อมแซมตัวอาคารสถานีขนส่ง
และสถานที่โดยรอบให้เกิดความทันสมัย สวยงามและเหมาะสม เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนผู้มารับบริการ
ตลอดจนจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงานที่ทันสมัยสำหรับใช้ในการดำเนินภารกิจสถานีขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพ
และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนที่ใช้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
เทศบาลนครลำปาง หลังจากได้รับการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่ง
ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นมา
ดังนี้.-
๑. ทาสีอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ครั้งที่ ๑)
งบประมาณ 99,000 บาท
๒.
ปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณสถานีโดยนำแผงเหล็กทำเป็นแนวรั้วด้านข้างอย่างเป็นระเบียบ
งบประมาณ 186,000 บาท
๓. ปรับปรุงห้องสุขาให้ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
จัดทำระบบสุขาภิบาลให้ได้มาตรฐาน จัดทำทางลาดคนพิการ รวมงบประมาณ 1,200,000 บาท
๔. จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ชุด งบประมาณ 36,000 บาท
๕. จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องเสียงเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์การเดินรถ
งบประมาณ 60,000 บาท
๖. ปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคารสถานีขนส่ง งบประมาณ
250,000 บาท
๗. ติดตั้งโทรทัศน์ LED สำหรับให้บริการประชาชน ณ
จุดพักคอย จำนวน 4 เครื่อง งบประมาณ 148,000 บาท
๘. จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ จำนวน ๒ เครื่อง งบประมาณ
๖๔,๐๐๐ บาท
๙. ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มจุดเสี่ยงภัย
จำนวน ๓๐ จุด พร้อมเครื่องบันทึก งบประมาณ ๔๓๐,๔๒๔.๕๐ บาท
๑๐. จัดซื้อครุภัณฑ์เก้าอี้ จำนวน ๓๐ ชุด งบประมาณ ๒๑๐,๐๐๐ บาท
๑๑. ทำทางลาดคนพิการและขอบทรายล้างฟุตบาททางเดิน งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท
๑๒. จ้างเหมาทำเบรกล้อรถโดยสายบริเวณช่องจอดชานชาลา งบประมาณ
๓๐,๐๐๐ บาท
๑๓. จัดซื้อครุภัณฑ์พัดลม จำนวน ๑๕ ตัว งบประมาณ ๔๓,๖๐๐ บาท
๑๔. จัดซื้อครุภัณฑ์ตู้เก็บเอกสาร จำนวน ๘ ตู้ งบประมาณ ๓๘,๗๐๐ บาท
๑๕. ก่อสร้างห้องน้ำคนพิการ ผู้ชรา จำนวน ๑ ห้อง งบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
๑๖. ปรับปรุงช่องจำหน่ายตั๋วเดิม งบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
๑๗. ก่อสร้างต่อเติมขยายช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารใหม่ งบประมาณ
๙๕๐,๐๐๐ บาท
๑๘. ปรับปรุงระบบประปา งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
๑๙. ปรับปรุงห้องทำงานเจ้าหน้าที่ และโถงหน้าห้องสุขา งบประมาณ
๓๔๐,๐๐๐ บาท
๒๐. จัดซื้อครุภัณฑ์เก้าอี้ จำนวน ๕๐ ชุด งบประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ บาท
๒๑. จัดซื้อกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
เครื่องบันทึกภาพและอุปกรณ์กระจายสัญญาณแบบ PEO
ขนาด ๘ ช่อง
เพิ่มเติมบริเวณจุดเสี่ยงภัย งบประมาณ
๑๔๙,๐๐๐ บาท
๒๒. จัดซื้อครุภัณฑ์สำนักงาน จำนวน ๖
รายการ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ พัดลมติดผนัง ฯลฯ งบประมาณ ๘๔,๐๐๐ บาท
๒๓. จัดซื้อครุภัณฑ์การเกษตร (เครื่องสูบน้ำ แบบหอยโข่ง) จำนวน
๑ รายการ งบประมาณ
๑๑,๐๐๐ บาท
๒๔.
จัดซื้อครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ โทรทัศน์ LED
TV งบประมาณ ๘๙,๐๐๐ บาท
๒๕.
ปรับปรุงซ่อมแซมถนนพร้อมทาสีตีเส้นจราจรภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
งบประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒๖.
ทาสีอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ครั้งที่ ๒) งบประมาณ ๑๔๓,๐๐๐ บาท
16)
งานธุรการและสารบรรณ จัดเก็บระเบียบ/กฎหมาย/หนังสือสั่งการ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสถานีขนส่ง เป็นหมวดหมู่
ทำทะเบียนหนังสือรับ–หนังสือส่ง
บันทึกข้อความ ประกาศ/คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารงานขนส่ง สำนักปลัดเทศบาล
17) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ต้องจดบันทึกข้อมูลการเข้า-ออกสถานีขนส่ง
ในสมุดทะเบียนเดินรถ (ขส.บ.64) ตามแบบที่กำหนดและต้องเก็บรักษาไว้ในที่ทำการของสถานีขนส่งแห่งนั้น
พร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา
จัดพนักงานสรุปรายงานและจัดส่งให้สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง กรมการขนส่งทางบก
เป็นประจำทุกเดือน
2. ด้านการบริหารงานการเงินการคลัง
1. ด้านการเงินและบัญชี
- ดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือน
ค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้แก่ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีขนส่ง
ตลอดจนทำฎีกาทุกประเภท เช่น ฎีกาเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค
ฯลฯ โดยตรง (ดำเนินการเอง) และผ่านกองคลังเทศบาลนครลำปางตรวจสอบ
- ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร โดยตรง (ดำเนินการเอง) กองคลังเทศบาลนครลำปางตรวจสอบ
- จัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่าง ๆ
ตลอดจนทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งบรายงานสถานะทางการเงินของสถานีขนส่งฯ โดยตรง (ดำเนินการเอง) กองคลังเทศบาลนครลำปางตรวจสอบ
2. ด้านการคลัง
จัดเก็บเงินรายได้จากการดำเนินกิจการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
เช่น รายได้ค่าบริการการใช้สถานีขนส่ง
รายได้จาการจัดให้มีบริการห้องสุขา
รายได้จากการจัดให้มีร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด รายได้ ค่าติดตั้งป้ายโฆษณา
โดยนำส่งเงินรายได้ทุกประเภทเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
สาขาลำปาง ชื่อบัญชี “สถานีขนส่งเทศบาลนครลำปาง” (ดำเนินการเอง (ฝากส่งโดยตรง))
3. ด้านการพัสดุ
- ดำเนินการจัดทำการซื้อ/จ้างทุกประเภท
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ
โดยผ่านกองคลังเทศบาลนครลำปางตรวจสอบ
- จัดทำทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์
และควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ กองคลังเทศบาลนครลำปางตรวจสอบและกำกับดูแล
4. ด้านการงบประมาณ
- ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ
ของงานบริหารกิจการสถานีขนส่ง ฝ่ายบริหารงานขนส่งสำนักปลัดเทศบาล (งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร)
- จัดทำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสารประจำปีงบประมาณ
5. งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่
หรือตามที่ได้รับมอบหมาย
โครงสร้างงานฝ่ายบริหารงานขนส่ง สำนักปลัดเทศบาล
เทศบาลนครลำปาง
หมายเหตุ : กำหนดโครงสร้างตามมาตรฐานสถานีขนส่งทางบก
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย (มาตรฐานที่ ๑.๗ และมาตรฐานที่ ๔.๓ (ตารางที่ ๒.๑๓))
การมอบหมายหน้าที่ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลนครลำปาง
เพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล
และพนักงานจ้าง สังกัดฝ่ายบริหารงานขนส่ง (สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง)) สำนักปลัดเทศบาล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของทางราชการ
สอดคล้องกับแนวการบริหารงานและนโยบายของผู้บริหารเทศบาลนครลำปาง
อาศัยอำนาจตามความตาม หมวด ๑๓
ข้อ ๒๗๓ และข้อ ๒๘๒ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดลำปาง เรื่อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาล ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 และหมวด 2 ข้อ 11 เรื่อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 จึงกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบพนักงานเทศบาล
ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง การช่วยราชการ และกำหนดเวลาการปฏิบัติหน้าที่พนักงานจ้าง
ดังต่อไปนี้
ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๑.
ส.ต.ต.หญิงฐิติรัตน์ คุณชมภู พนักงานเทศบาล
ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานขนส่ง (นักบริหารงานทั่วไป ระดับต้น)
เลขที่ตำแหน่ง ๕๒-๒-๐๑-๒๑๐๑-๐๐๖ ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง)
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑.
ควบคุม ดูแลงานบริหารบุคคล ติดตามและบังคับบัญชาการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาล และพนักงานจ้างในฝ่ายบริหารงานขนส่ง
ประกอบด้วย
๑.๑ งานบริหารกิจการสถานีขนส่ง
๑.๒ งานการเงินและบัญชี
๒.
วินิจฉัย สั่งการ ควบคุม ให้คำปรึกษาแนะนำ
ปรับปรุง เสนอแนะ ติดตามประเมินผล และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๓.
งานวางแผนพัฒนารายได้ การจัดทำแผนดำเนินงาน และการจัดทำแผนพัฒนาของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๔. ควบคุม
ดูแลงานกำกับตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์เทศบาลของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๕. ควบคุม กำกับดูแลงานด้านการเงินและบัญชีของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
ได้แก่ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบการจัดทำรายงานการจัดเก็บรายได้ การเบิกจ่ายเงิน
การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจัดทำงบการเงิน
งบแสดงฐานะทางการเงินของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๖. ควบคุมการจัดทำแผนดำเนินงาน/โครงการ และตรวจสอบการจัดทำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๗.
ตรวจสอบรายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการควบคุมภายในฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๘. งานตรวจสอบ กลั่นกรองรายงานการประชุมในภารกิจของฝ่ายบริหารงานขนส่ง ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหารงานภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) การประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) และ การประชุมคณะอนุกรรมการจัดระเบียบการให้บริการขนส่งสาธารณะรับจ้างประจำพื้นที่เทศบาลนครลำปาง
๙.
ควบคุม กำกับดูแล พิจารณา ตรวจสอบการจัดระเบียบการจราจร การรักษาความปลอดภัย
และการรักษาความสะอาดภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง)
๑๐.
ควบคุม กำกับดูแล การพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) และข้อมูลการเดินรถโดยสารประจำทางผ่าน www.lampangcity.go.th
๑๑. ควบคุม กำกับดูแลด้านการคลัง ได้แก่ การจัดเก็บรายได้จากการดำเนินงานภารกิจสถานีขนส่ง ผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง) การนำส่งเงินรายได้ทุกประเภทเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
๑๒.
ควบคุมงานด้านการพัสดุ ได้แก่ ควบคุม ตรวจสอบ
ดูแลการจัดซื้อ/จัดจ้าง การจัดทำทะเบียนพัสดุ/
ครุภัณฑ์
เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
๑๓. ควบคุม กำกับดูแลด้านการงบประมาณ ได้แก่
การจัดทำแผนงาน/โครงการประกอบร่างเทศบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
ของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๑๔. ควบคุม
พิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูลการเดินรถโดยสารประจำทางในแต่ละเส้นทาง
๑๕. ควบคุมการจัดแผน
และรายงานการบริหารจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายในของ
ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
1๖. งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย อาทิเช่น
กลั่นกรองหนังสือราชการ
ของนายกเทศมนตรีนครลำปาง ประสานงานเกี่ยวกับภารกิจราชการของนายกเทศมนตรี รับนโยบายและข้อสั่งการของนายกเทศมนตรี เพื่อประสานกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยว (คำสั่งเทศบาลนครลำปาง ที่ ๒๘๘/๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ กรณี ส.ต.ต.หญิงฐิติรัตน์ คุณชมภู ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานขนส่ง ไม่อยู่หรือไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้พนักงานเทศบาล
นางสาวนริศรา หงสกุล หัวหน้าฝ่ายประสานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รักษาการในตำแหน่ง
งานบริหารกิจการสถานีขนส่ง
1.
นายหัสนัย
บุญสิงห์ พนักงานเทศบาล
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน เลขที่ตำแหน่ง ๕๒-๒-๐๑-๔๑๐๑-๐๒๒
มีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ดังนี้
๑. ควบคุม
ดูแลงานการปฏิบัติงานของพนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปที่ปฏิบัติหน้าที่
ประจำสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง)
ให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายของทางราชการ
๒. งานธุรการ งานสารบรรณ และงานร่างโต้ตอบหนังสือราชการ
๓.
จัดทำรายงานการประชุมในภารกิจฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๔. งานพัฒนารายได้ของสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๕. งานรักษาความปลอดภัย
๖. งานจัดระบบจราจรและบริหารงานลานจอดรถ
๗.
งานบริหารช่องจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสารและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้ช่องจอดชานชาลา
๘.
จัดทำรายงานการเข้าใช้สถานีขนสงผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง)
๙. งานจัดให้มีบริการแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
เช่น การบริการห้องสุขา การจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด การติดตั้งป้ายโฆษณา การบริการรับฝากของ
การบริการรถรับจ้าง บริการรถเข็นสัมภาระ เป็นต้น
๑๐. งานการควบคุมดูแลการติดตั้งป้ายโฆษณาในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
๑๑.
งานการประชาสัมพันธ์และการบริการข้อมูลการเดินทาง
๑๒. งานการจัดหา ดูแล ซ่อมแซม
บำรุงรักษาอาคารสถานที่ภายในภายนอกสถานีขนส่ง และวัสดุอุปกรณ์
๑๓.
งานรักษาความสะอาดของสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๑๔.
งานพัฒนาระบบการให้บริการข้อมูลข่าวสารภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง) และข้อมูลการเดินรถโดยสารประจำทางผ่าน
www.lampangcity.go.th
๑๕. งานประชุมต่างๆ ของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๑๖. งานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
กรณี นายหัสนัย บุญสิงห์ ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้พนักงานเทศบาล
นางศิริขวัญ ไตรถาวร ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง
๒. นางสาวรสสุคนธ์
ใจแก้วแดง พนักงานจ้างทั่วไป
ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. ช่วยงานธุรการ งานสารบรรณ
ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๒. ช่วยจัดระเบียบการเดินรถภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง)
๓. ให้บริการ
และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้ช่องจอดชานชาลา
๔. ช่วยประกาศกำหนดการเดินรถ
อัตราค่าโดยสาร สิทธิและสวัสดิการต่างๆ ที่พึ่งได้รับจากการใช้บริการรถโดยสาร กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับที่จำเป็นต้องทราบและต้องปฏิบัติในขณะใช้บริการรถโดยสารประจำทาง
๕.
ช่วยควบคุมและเก็บรักษาใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
และเอกสารสำคัญที่ยังไม่ได้ดำเนินการและที่ได้ดำเนินการแล้ว (ขสบ. 64)
6. ประทับตราลายมือชื่อลงในใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งตามที่ได้รับมอบหมาย
7.
รับชำระเงินค่าบริการสถานีขนส่ง และออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
พร้อมกับลงเวลาการเดินรถโดยสารเข้า-ออก
สถานีขนส่ง และชื่อคนขับรถในใบบันทึกรายการฯ (ขส.บ.๖๔)
8. รวบรวมนำเงินค่าบริการสถานีขนส่ง พร้อมจัดทำใบนำส่งเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
ส่งมอบให้กับ
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการนำส่งเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
เพื่อนำฝากส่งให้กับธนาคารฯ ก่อนเวลา ๑๕.๓๐ น. โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการบัญชีโดยเคร่งครัด
9. ช่วยควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาทำความสะอาดสถานีขนส่งผู้โดยสาร
10. ทำหน้าที่ตั้งตู้
เวลา 05.00 น. เก็บตู้เวลา 21.00 น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
11. อยู่เวรยาม
รักษาความปลอดภัย และทรัพย์สินของทางราชการ (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
12.
ช่วยดูแลระบบสาธารณูปโภคสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
13.
ช่วยดูแลจัดระเบียบอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
14. ช่วยควบคุม ดูแล ระบบการรักษาความปลอดภัย
(กล้องวงจรปิด) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (เทศบาลนครลำปาง)
15.
ประสานงานกับบุคคลภายในและภายนอกหน่วยงาน หรือประชาชนทั่วไป
เพื่อให้บริการหรือ
ขอความช่วยเหลือกรณีผู้โดยสารไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการเดินรถ
หรือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
16. ช่วยควบคุม ดูแล การติดตั้งป้ายโฆษณาภายในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
17.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ในกรณี
นางสาวรสสุคนธ์ ใจแก้วแดง ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้พนักงานจ้างทั่วไป คือ นางสาวใจรักษ์
รัตนมงคล ปฏิบัติหน้าที่แทน
๔.
นางสาวใจรักษ์
รัตนมงคล พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง
มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
1. เปิดเครื่องขยายเสียง (เพลงชาติ) เพื่อเคารพธงชาติอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา๐๘.๐๐
น. และอัญเชิญธงชาติลงจากยอดเสาในเวลา ๑๘.๐๐ น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
2. ประทับตราลายมือชื่อลงในใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งตามที่ได้รับมอบหมาย
3. รับชำระเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
และออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่ง พร้อมกับลงเวลาการเดินรถโดยสารเข้า
- ออก สถานีขนส่ง
และชื่อคนขับรถในใบบันทึกรายการฯ (ขส.บ.๖๔)
4.
จัดทำทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วค่าบริการการใช้สถานีขนส่งและเก็บเงินค่าบริการในส่วนที่รับผิดชอบส่งมอบเวรในผลัดต่อไป
5.
รวบรวมนำเงินค่าบริการสถานีขนส่ง ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการนำส่งเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
เพื่อนำฝากส่งให้กับธนาคารฯ
โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการบัญชีโดยเคร่งครัด
6.
ตรวจสอบการเดินรถของผู้ประกอบการขนส่งแต่ละราย จำนวนเที่ยวรถครบถูกต้องหรือไม่หาก
ตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการใดฝ่าฝืนไม่นำรถเข้าใช้บริการสถานีขนส่งให้ทำการบันทึกรายงานผู้บังคับบัญชา
7. ช่วยดูแลและจัดระเบียบการเข้าจอดรถผู้มาใช้บริการสถานีขนส่งทั้งรถประจำทางและรถส่วนบุคคล
8. ช่วยควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาทำความสะอาดสถานีขนส่ง
9. ทำหน้าที่ตั้งตู้ เวลา
05.00 น. เก็บตู้เวลา 21.00 น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
10. อยู่เวรยาม
รักษาความปลอดภัย และทรัพย์สินของทางราชการ (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
11.
ช่วยดูแลระบบสาธารณูปโภคสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
12. ช่วยดูแลจัดระเบียบอาคารสถานที่ทั้งภายในและภายนอกสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
13. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ในกรณีนางสาวใจรักษ์ รัตนมงคล ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้พนักงานจ้างทั่วไป คือ นางสาวรสสุคนธ์ ใจแก้วแดง ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน
๕.
นายภูวดล มิ่งเชื้อ พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย
ช่วยปฏิบัติงาน
ฝ่ายบริหารงานขนส่ง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. เปิดเครื่องขยายเสียง (เพลงชาติ) เพื่อเคารพธงชาติอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา๐๘.๐๐
น. และอัญเชิญธงชาติลงจากยอดเสาในเวลา ๑๘.๐๐ น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
๒. ช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางให้แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีขนส่งทราบ
๓. ประทับตราลายมือชื่อลงในใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งตามที่ได้รับมอบหมาย
๔.
รับชำระเงินค่าบริการสถานีขนส่ง และออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
พร้อมกับลงเวลาการเดินรถโดยสารเข้า - ออก
สถานีขนส่ง และชื่อคนขับรถในใบบันทึกรายการฯ (ขส.บ.๖๔)
๕. จัดทำทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วค่าบริการการใช้สถานีขนส่งและเก็บเงินค่าบริการในส่วนที่รับผิดชอบส่งมอบเวรในผลัดต่อไป
๖. รวบรวมนำเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการนำส่งเงิน
ค่าบริการสถานีขนส่ง
เพื่อนำฝากส่งให้กับธนาคารฯ โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการบัญชีโดยเคร่งครัด
๗. ตรวจสอบการเดินรถของผู้ประกอบการขนส่งแต่ละราย
จำนวนเที่ยวรถครบถูกต้องหรือไม่
หากตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการใดฝ่าฝืนไม่นำรถเข้าใช้บริการสถานีขนส่ง
ให้ทำการบันทึกรายงานผู้บังคับบัญชา
๘. ช่วยดูแลและจัดระเบียบการเข้าจอดรถผู้มาใช้บริการสถานีขนส่งทั้งรถประจำทางและรถส่วนบุคคล
๙. ช่วยควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาทำความสะอาดสถานีขนส่งผู้โดยสารฯ
๑๐. ทำหน้าที่ตั้งตู้
เวลา 05.00 น. เก็บตู้เวลา 21.00 น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
๑๑. อยู่เวรยาม
รักษาความปลอดภัย และทรัพย์สินของทางราชการ (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
12.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ในกรณี นายภูวดล
มิ่งเชื้อ พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานเทศกิจ ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้พนักงานจ้างทั่วไป คือ นายบุรินทร
อารยะกูล ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง ปฏิบัติหน้าที่แทน
๖. นายบุญช่วย สนแก้ว พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. เปิดเครื่องขยายเสียง(เพลงชาติ) เพื่อเคารพธงชาติอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา
๐๘.๐๐ น. และอัญเชิญธงชาติลงจากยอดเสาในเวลา ๑๘.๐๐ น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
๒. ช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางให้แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีขนส่งทราบ
๓. ประทับตราลายมือชื่อลงในใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งตามที่ได้รับมอบหมาย
๔.
รับชำระเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
และออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งพร้อมกับลงเวลาการเดินรถโดยสารเข้า - ออก สถานีขนส่ง
และชื่อคนขับรถในใบบันทึกรายการฯ (ขส.บ.๖๔)
๕. จัดทำทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วค่าบริการการใช้สถานีขนส่งและเก็บเงินค่าบริการในส่วนที่รับผิดชอบส่งมอบเวรในผลัดต่อไป
๖.
รวบรวมนำเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการนำส่งเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
เพื่อนำฝากส่งให้กับธนาคารฯ โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการบัญชีโดยเคร่งครัด
7. ตรวจสอบการเดินรถของผู้ประกอบการขนส่งแต่ละราย
จำนวนเที่ยวรถครบถูกต้อง หรือไม่
หากตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการใดฝ่าฝืนไม่นำรถเข้าใช้บริการสถานีขนส่ง
ให้ทำการบันทึกรายงานผู้บังคับบัญชา
8. ช่วยดูแลและจัดระเบียบการเข้าจอดรถผู้มาใช้บริการสถานีขนส่งทั้งรถประจำทางและรถส่วนบุคคล
9. ช่วยควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาทำความสะอาดสถานีขนส่ง
๑๐. ทำหน้าที่ตั้งตู้
เวลา 05.00 น. เก็บตู้เวลา 21.00 น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
11. อยู่เวรยาม รักษาความปลอดภัย
และทรัพย์สินของทางราชการ (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
12.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ในกรณี นายบุญช่วย สนแก้วไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้พนักงานจ้างทั่วไป
คือนายภูวดล มิ่งเชื้อ ปฏิบัติหน้าที่แทน
๗. นายบุรินทร อารยะกูล พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. เปิดเครื่องขยายเสียง(เพลงชาติ)เพื่อเคารพธงชาติอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาในเวลา
๐๘.๐๐ น. และอัญเชิญธงชาติลงจากยอดเสาในเวลา ๑๘.๐๐ น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
๒. ช่วยประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางให้แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีขนส่งทราบ
๓. ประทับตราลายมือชื่อลงในใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งตามที่ได้รับมอบหมาย
๔.
รับชำระเงินค่าบริการสถานีขนส่ง และออกใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
พร้อมกับลงเวลาการเดินรถโดยสารเข้า - ออก
สถานีขนส่ง และชื่อคนขับรถในใบบันทึกรายการฯ (ขส.บ.๖๔)
๕.
จัดทำทะเบียนคุมการจำหน่ายตั๋วค่าบริการการใช้สถานีขนส่งและเก็บเงินค่าบริการในส่วนที่รับผิดชอบส่งมอบเวรในผลัดต่อไป
๖. รวบรวมนำเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
ส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการนำส่งเงินค่าบริการสถานีขนส่ง
เพื่อนำฝากส่งให้กับธนาคารฯ
โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการบัญชีโดยเคร่งครัด
๗.
ตรวจสอบการเดินรถของผู้ประกอบการขนส่งแต่ละรายจำนวนเที่ยวรถครบถูกต้องหรือไม่
หากตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการใดฝ่าฝืนไม่นำรถเข้าใช้บริการสถานีขนส่ง
ให้ทำการบันทึกรายงานผู้บังคับบัญชา
8. ช่วยดูแลและจัดระเบียบการเข้าจอดรถผู้มาใช้บริการสถานีขนส่งทั้งรถประจำทางและรถส่วนบุคคล
9. ควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาทำความสะอาดสถานีขนส่ง
10. ทำหน้าที่ตั้งตู้
เวลา 05.00 น. เก็บตู้เวลา 21.00 น. (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
11. อยู่เวรยาม
รักษาความปลอดภัย และทรัพย์สินของทางราชการ (ตามผลัดเวรที่รับผิดชอบ)
1๒.
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ในกรณีนายบุรินทร อารยะกูล ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้พนักงานจ้างทั่วไป คือ
นายภูวดล มิ่งเชื้อ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
งานการเงินและบัญชี
1.
นางศิริขวัญ ไตรถาวร
ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ เลขที่ตำแหน่ง
๕๒-๒-๐๑-๓๒๐๑-๐๐๖ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑.
ควบคุมและดำเนินการในงานด้านการเงินและบัญชี ของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
งบประมาณรายจ่าย
เฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
เช่น การเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานีขนส่ง
ฯลฯ ตลอดจนการจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินทุกประเภท
๒. ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสารทุกประเภท โดยจัดทำบัญชี
ทุกประเภท
ทำทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ จัดทำงบทดลอง งบแสดงฐานะทางการเงิน รายงานสถานะทางการเงินของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
ฯลฯ
๓.
งานกำกับตัวชี้วัดตามแผนยุทธศาสตร์เทศบาลนครลำปาง ของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๔. งานการดำเนินการทางด้านการคลัง เช่น
การดำเนินการจัดเก็บเงินรายได้จากการดำเนินงานภารกิจ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
อาทิ ค่าบริการการใช้สถานีขนส่ง รายได้จากการจัดให้มีบริการห้องสุขา รายได้การจัดให้มีร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด
รายได้ค่าติดตั้งป้ายโฆษณา รายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจสถานีขนส่ง
๕.
การดำเนินการทางด้านพัสดุ เช่น การดำเนินการจัดทำการซื้อ/จ้างทุกประเภท
การจัดทำทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์ และควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ
ฯลฯ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
๖. การดำเนินการด้านการงบประมาณ เช่น การจัดทำแผนดำเนินงาน/โครงการ
การจัดทำแผนพัฒนาของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
และการจัดทำร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๗.
งานการจัดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน
และรายงานผลการดำเนินงานตามแผน
ของฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๘. ทำหน้าที่เก็บรักษากุญแจตู้รับบริจาค
(เงินอุทิศ) ตรวจนับเงิน ส่งเงิน
และออกใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำ
เข้าเป็นรายได้ของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
๙. งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
กรณี
นางศิริขวัญ ไตรถาวร ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้พนักงานเทศบาล ส.ต.ต.หญิงฐิติรัตน์ คุณชมภู รักษาการในตำแหน่ง
เนื่องจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) จำเป็นต้องบริการประชาชน
ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้น จึงกำหนดเวลาการปฏิบัติราชการตามปกติของพนักงานจ้าง
ดังนี้
๑.
ปฏิบัติงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ –
๑๖.๓๐ น. ของทุกวัน (ผลัดที่ ๑) ประกอบด้วย
๑.๑ นางสาวรสสุคนธ์
ใจแก้วแดง พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง
๑.๒ นางสาวใจรักษ์
รัตนมงคล พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง
๒.
ปฏิบัติงานตั้งแต่วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา ๑๖.๓๐ –
๐๐.๓๐ น. ของทุกวัน (ผลัดที่
๒) ประกอบด้วย
๒.๑ นายภูวดล มิ่งเชื้อ พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง
คนงานเทศกิจ
๒.๒
นายบุรินทร อารยะกูล พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง
๓.
ปฏิบัติงานตั้งแต่วันจันทร์
ถึงวันศุกร์ เวลา ๐๐.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. ของทุกวัน (ผลัดที่
๓) ประกอบด้วย
๓.๑
นายบุญช่วย สนแก้ว พนักงานจ้างทั่วไป ตำแหน่ง คนงานสถานีขนส่ง
4. กำหนดให้วันเสาร์
– วันอาทิตย์ เป็นวันหยุดราชการ
๒. นางสาวปุณยาพร หารประทุม พนักงานจ้างเหมาบริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
๑. ช่วยประชาสัมพันธ์การเดินรถโดยสาร
๒. ช่วยปฏิบัติงานด้านพัสดุ เช่น การจัดทำบันทึกการซื้อ/จ้างทุกประเภท
๓. ช่วยการจัดทำทะเบียนคุมพัสดุ ครุภัณฑ์ ฝ่ายบริหารงานขนส่ง
๔.
ช่วยจัดทำทะเบียนคุมการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ
ให้เป็นไปตามระเบียบฯ ของทางราชการ
๕.
ช่วยจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินทุกประเภทของงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
๖.
ช่วยทำทะเบียนเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร
ประจำปีงบประมาณ
๗. ช่วยทำทะเบียนคุมเงินรายได้งบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ประจำปีงบประมาณ
๘. ช่วยทำทะเบียนคุมการเบิกจ่ายใบเสร็จรับเงินค่าบริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
๙. บันทึกข้อมูลในระบบบัญชีภาครัฐ
ข้อดี ข้อเสีย
จากการดำเนินงานภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน
**********
ข้อดี
- สามารถพัฒนาสถานีขนส่งได้รวดเร็ว
เนื่องจากอำนาจการอนุมัติสิ้นสุดแค่เทศบาล
ข้อเสีย
- เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- เทศบาลมีภารกิจหน้าที่เพิ่มขึ้น
จำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรมารับผิดชอบ
- ขาดบุคลากรที่มีความรู้
ความชำนาญ และประสบการณ์เฉพาะทาง เช่น การจัดการเดินรถและการจราจร ด้านช่างโยธา
ช่างไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งมีความจำเป็นต่อภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ที่เป็นภารกิจด้านการบริการสาธารณะให้กับประชาชน
- ต้องหางบประมาณสนับสนุน/ช่วยเหลืองบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่ง
- เทศบาลมีรายจ่ายที่ต้องดูแล
และบำรุงรักษาอาคารสถานีขนส่งเพิ่มมากขึ้น
- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
มีพื้นที่คับแคบ ยากต่อการขยายและพัฒนาพื้นที่
-
พื้นที่จอดรถยนต์โดยสารไม่เพียงพอ และไม่มีพื้นที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคล
-
ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางมาบริหารจัดการ
ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่ง
- ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลางในการดูแลทำนุบำรุงสถานีขนส่ง
- สถานที่ตั้งปัจจุบันคับแคบยากต่อการขยายกิจการ
- การดำเนินภารกิจที่นอกเหนือจาก 15 ภารกิจ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก หรือเจ้าของพื้นที่ (ธนารักษ์จังหวัด)
-
การบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบ/เงื่อนไขการเดินรถกับผู้ประกอบการเดินรถ พนักงานขับรถ พนักงานขายตั๋ว เทศบาลฯ ไม่สามารถบังคับใช้โดยตรงได้
ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการ
ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาทิเช่น
กรณีรถสองแถวไม่เข้าใช้บริการสถานีขนส่ง เป็นผลทำให้รายได้ของสถานีขนส่งลดลง
ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายกับรถสองแถวให้เข้าใช้สถานีจะต้องแจ้งสำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการ
ไม่แก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีได้ เป็นต้น
ด้านการบริหารจัดการทั่วไป
1.
กรมการขนส่งทางบกถ่ายโอนเฉพาะ 15 ภารกิจ แต่ไม่ถ่ายโอนอำนาจการบังคับใช้กฎหมายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทำให้มีเกิดปัญหาด้านการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไข กฎระเบียบ
และข้อกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก
2.
อำนาจการบังคับใช้กฎ/ระเบียบ ขึ้นอยู่กับกรมการขนส่งทางบก เช่น กรณีรถไม่เข้าจอด
ในชานชาลา ต้องแจ้งขนส่งจังหวัดดำเนินการ
3.
การบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากขาดงบประมาณ
ด้านการบริหารงานบุคคล
4.
ขาดแคลนบุคลากร เนื่องจากภารกิจงานสถานีขนส่งต้องปฏิบัติหลายด้าน เช่น
ด้านการจัดการเดินรถและการจัดการจราจร ด้านการจัดการร้านค้าและบริการ
ด้านไฟฟ้า/สาธารณูปโภค
(ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ด้านช่างโยธา) ฯลฯ
5. ขาดแคลนบุคลากรด้านภารกิจสถานีขนส่ง
เนื่องจากไม่มีบุคลากรถ่ายโอนจากกรมการขนส่งทางบก
6.
บุคลากรขาดความเชี่ยวชาญ เนื่องจากไม่มีการอบรมชี้แจงก่อนการถ่ายโอน
ด้านงบประมาณ
7. ขาดแคลนงบประมาณ งบประมาณที่ใช้มีจำนวนจำกัด
โดยฝ่ายส่งเสริมกิจการขนส่งบริหารจัดจากเงินรายได้ภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารโดยตรง
รูปแบบของงบประมาณเฉพาะการ ดำเนินการเบิกจ่ายจากเงินรายได้
ปัจจุบันรายได้จากการให้เช่าบริการห้องสุขาไม่ได้จัดเก็บ
(ให้บริการฟรีตามนโยบายรัฐบาล)
ด้านการจัดสถานที่
8. สถานที่คับแคบ ยากต่อการขยาย
เนื่องจากพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นของเอกชน
9. ผู้ประกอบการ ร้านค้าบริเวณโดยรอบนำพื้นที่ของสถานที่ขนส่งฯ หาผลประโยชน์
เช่น
การรับฝากรถจักรยานยนต์
เป็นต้น
10. ไม่มีพื้นที่จอดรถสำหรับให้บริการประชาชน
และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำสถานที่ขนส่ง
11. สถานที่ วัสดุ/อุปกรณ์
อาคารเก่าทรุดโทรมต้องใช้งบประมาณมาสนับสนุนจำนวนมาก
การดำเนินการหลังได้รับการถ่ายโอน
๑. ทาสีอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ครั้งที่ ๑)
งบประมาณ 99,000 บาท
๒. ปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณสถานีโดยนำแผงเหล็กทำเป็นแนวรั้วด้านข้างอย่างเป็นระเบียบ
งบประมาณ 186,000 บาท
๓.
ปรับปรุงห้องสุขาให้ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
จัดทำระบบสุขาภิบาลให้ได้มาตรฐาน จัดทำทางลาดคนพิการ รวมงบประมาณ 1,200,000 บาท
๔. จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ชุด งบประมาณ 36,000 บาท
๕.
จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องเสียงเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์การเดินรถ งบประมาณ 60,000 บาท
๖. ปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคารสถานีขนส่ง งบประมาณ
250,000 บาท
๗. ติดตั้งโทรทัศน์ LED สำหรับให้บริการประชาชน ณ
จุดพักคอย จำนวน 4 เครื่อง งบประมาณ 148,000 บาท
๘. จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ จำนวน ๒ เครื่อง งบประมาณ
๖๔,๐๐๐ บาท
๙. ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มจุดเสี่ยงภัย
จำนวน ๓๐ จุด พร้อมเครื่องบันทึก งบประมาณ ๔๓๐,๔๒๔.๕๐ บาท
๑๐. จัดซื้อครุภัณฑ์เก้าอี้ จำนวน ๓๐ ชุด งบประมาณ ๒๑๐,๐๐๐ บาท
๑๑. ทำทางลาดคนพิการและขอบทรายล้างฟุตบาททางเดิน งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท
๑๒. จ้างเหมาทำเบรกล้อรถโดยสายบริเวณช่องจอดชานชาลา งบประมาณ
๓๐,๐๐๐ บาท
๑๓. จัดซื้อครุภัณฑ์พัดลม จำนวน ๑๕ ตัว งบประมาณ ๔๓,๖๐๐ บาท
๑๔. จัดซื้อครุภัณฑ์ตู้เก็บเอกสาร จำนวน ๘ ตู้ งบประมาณ ๓๘,๗๐๐ บาท
๑๕. ก่อสร้างห้องน้ำคนพิการ ผู้ชรา จำนวน ๑ ห้อง งบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
๑๖. ปรับปรุงช่องจำหน่ายตั๋วเดิม งบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
๑๗. ก่อสร้างต่อเติมขยายช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารใหม่ งบประมาณ
๙๕๐,๐๐๐ บาท
๑๘. ปรับปรุงระบบประปา งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
๑๙. ปรับปรุงห้องทำงานเจ้าหน้าที่ และโถงหน้าห้องสุขา งบประมาณ
๓๔๐,๐๐๐ บาท
๒๐. จัดซื้อครุภัณฑ์เก้าอี้ จำนวน ๕๐ ชุด งบประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ บาท
๒๑. จัดซื้อกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
เครื่องบันทึกภาพและอุปกรณ์กระจายสัญญาณแบบ PEO
ขนาด ๘ ช่อง
เพิ่มเติมบริเวณจุดเสี่ยงภัย งบประมาณ
๑๔๙,๐๐๐ บาท
๒๒. จัดซื้อครุภัณฑ์สำนักงาน จำนวน ๖
รายการ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ พัดลมติดผนัง ฯลฯ งบประมาณ ๘๔,๐๐๐ บาท
๒๓. จัดซื้อครุภัณฑ์การเกษตร (เครื่องสูบน้ำ แบบหอยโข่ง) จำนวน
๑ รายการ งบประมาณ
๑๑,๐๐๐ บาท
๒๔.
จัดซื้อครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ โทรทัศน์ LED
TV งบประมาณ ๘๙,๐๐๐ บาท
๒๕.
ปรับปรุงซ่อมแซมถนนพร้อมทาสีตีเส้นจราจรภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
งบประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท
๒๖.
ทาสีอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง (ครั้งที่ ๒) งบประมาณ ๑๔๓,๐๐๐ บาท
ระหว่างการดำเนินการงาน
๑. ปรับปรุงอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง) โดยต่อเติมหลังคา
พร้อมปรับปรุงที่พักผู้โดยสาร
พื้นที่ใช้สอยไม่น้อยกว่า ๑๘ ตร.ม. และงานอื่นๆ (ตามแบบแปลนเทศบาล)
๒. ปรับปรุงหลังคาและฝ้าเพดานอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
(เทศบาลนครลำปาง)
พื้นที่หลังคาไม่น้อยกว่า ๖๗๐ ตรม.และงานอื่น ๆ
(ตามแบบแปลนเทศบาล)
การดำเนินการงาน
๑. จัดหาพื้นที่สำหรับก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
แห่งที่ 2 (อยู่ในแผนแม่บท ๒๐ ปี
กรมการขนส่งทางบก)
วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินงานตามมาตรฐานการถ่ายโอนและการดำเนินการสถานีขนส่งทางบก
***********
มาตรฐานที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินการรับโอนภารกิจสถานีขนส่งทางบก
มาตรฐานที่
1.1 การสำรวจองค์ประกอบทางกายภาพของสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่
1.2 การสำรวจสัญญาที่มีความผูกพันตามกฎหมาย
มาตรฐานที่
1.3 การสำรวจบัญชีงบดุลของสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่ 1.4 การสำรวจการจัดการการเดินรถโดยสาร
มาตรฐานที่ 1.5 การสำรวจปริมาณผู้โดยสาร
มาตรฐานที่ 1.6 การกำหนดประเภทขนาดของสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่ 1.7 การกำหนดรูปแบบการบริหารสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่ 1.8 การแต่งตั้งและถ่ายโอนบุคลากรสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่ 2 ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานีขนส่งทางบก
มาตรฐานที่
2.1 การจัดการเดินรถโดยสาร
มาตรฐานที่ 2.2 การจัดการให้บริการผู้โดยสารเกี่ยวกับการเดินทาง
มาตรฐานที่ 2.3 การจัดการร้านค้าภายในสถานีขนส่ง
มาตรฐานที่ 2.4 การจัดการให้มีบริการอื่น
ๆ
มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานการจัดการจราจรภายในสถานีขนส่งทางบก
มาตรฐานที่
3.1 ช่องจอดรถสำหรับโดยสาร
มาตรฐานที่ 3.2 ช่องจอดรถ
มาตรฐานที่ 3.3 ช่องจราจร
มาตรฐานที่ 3.4 เครื่องหมายการจราจร
มาตรฐานที่ 3.5 ป้ายเครื่องหมายจราจร
มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานการบำรุงรักษาและพัฒนาสถานีขนส่งทางบก
มาตรฐานที่
4.1 การบำรุงรักษาซ่อมแซมอาคารสถานที่
มาตรฐานที่ 4.2 การพัฒนาอาคารสถานที่
มาตรฐานที่ 4.3 การพัฒนาบุคลากร
มาตรฐานอ้างอิง
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1) พระราชบัญญัติรถยนต์
พ.ศ. 2522
2) พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. 2522
3) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ.2522
4) กฎระเบียบกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2525
ว่าด้วยการขออนุญาตจัดตั้งสถานีขนส่ง
๕) ระเบียบกระทรวงคมนาคมว่าด้วยการรับจ่ายเงินค่าบริการสถานีขนส่งกรมการขนส่งทางบก
พ.ศ. 2532
๖) ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการบริหารและดำเนินกิจการสถานีขนส่งผู้โดยสาร ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
๗) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน
การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ.๒๕๔๗ และแก้ไขเพิ่มเติม
๘)
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ.๒๕๔๓
และแก้ไขเพิ่มเติม
๙) มาตรฐานการป้องกันอุบัติภัยทางถนน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑๐) คู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายการจราจร
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร
๑๑) U.S. Federal Aviation
Administration, Advisory AC 150/5360-13, 1988.
๑๒) Kittelson & Associates, Inc.,
et al., Transit Capacity and Quality of Service Manual,
Transit
Cooperative Research Program, 1999.
๑๑) Blow, C., Transport Terminals and
Modal Interchanges Planning and Design, Architectural
Press,
2005.
หนังสือสั่งการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑) หนังสือจังหวัดลำปาง
ด่วนมาก ที่ ลป ๐๐๒๓.๔/ว ๓๖๘๔ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๖
๒) หนังสือกระทรวงมหาดไทย
ที่ มท ๐๘๖๗.๓/ว ๑๑๓๖ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๘
๓) หนังสือกระทรวงมหาดไทย
ที่ มท ๐๘๙๐.๓/ว ๒๒๒ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
๔) หนังสือกระทรวงมหาดไทย
ด่วนมาก ที่ มท ๐๘๐๘.๓/ว ๒๙๔๘ ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๖
๕) หนังสือกระทรวงมหาดไทย
ที่ มท ๐๘๖๗.๓/ว ๒๕๒๓๑ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๘
๖) หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ นร ๐๑๐๖/๗๙๗๔ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
สรุปข้อดี ข้อเสีย ปัญหา/อุปสรรค
**********
จากการดำเนินงานภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อดี
- สามารถพัฒนาสถานีขนส่งได้รวดเร็ว
เนื่องจากอำนาจการอนุมัติสิ้นสุดแค่เทศบาล
ข้อเสีย
- เทศบาลมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
- เทศบาลมีภารกิจหน้าที่เพิ่มขึ้น
จำเป็นต้องจัดสรรบุคลากรมารับผิดชอบ
- ต้องหางบประมาณสนับสนุน/ช่วยเหลืองบประมาณรายจ่ายเฉพาะการสถานีขนส่ง
- เทศบาลมีรายจ่ายที่ต้องดูแล
และบำรุงรักษาอาคารสถานีเพิ่มมากขึ้น
- สถานีขนส่งคับแคบ
ยากต่อการขยายและพัฒนาพื้นที่
- ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง
(กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมการขนส่งทางบก)
- ไม่สามารถกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเข้าใช้สถานีได้โดยตรง
ต้องอาศัยระเบียบกรมการขนส่งทางบก
ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงานการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่ง ดังนี้
๑. ด้านงบประมาณ
- ขาดงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลางในการดูแลทำนุบำรุงสถานีขนส่ง
- งบประมาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงซ่อมแซม
โดยเฉพาะโครงการ
ที่ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูง
เช่น ปรับปรุงตัวอาคาร ทำถนนภายในสถานีขนส่ง เป็นต้น
(ฝ่ายส่งเสริมกิจการขนส่ง
จัดทำงบประมาณเฉพาะการ บริหารการเบิกจ่ายจากเงินรายได้ของภารกิจสถานีขนส่งโดยตรง)
๒. ด้านการดำเนินการ - การดำเนินภารกิจสถานีขนส่งฯ
ที่นอกเหนือจาก 15 ภารกิจ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก หรือเจ้าของพื้นที่(ธนารักษ์จังหวัด)
เนื่องจากพื้นที่ตั้งของสถานีขนส่งฯ ธนารักษ์จังหวัดเป็นเจ้าของที่ดิน
๓. ด้านสถานที่
- สถานที่คับแคบ
ยากต่อการขยาย เนื่องจากพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นของเอกชน
- ผู้ประกอบการ ร้านค้าบริเวณโดยรอบนำพื้นที่ของสถานที่ขนส่งฯ
หาผลประโยชน์ เช่น การรับฝากรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
- ไม่มีพื้นที่จอดรถสำหรับให้บริการประชาชน
และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำสถานที่ขนส่ง
- อาคารเก่าทรุดโทรมยากต่อการแก้ไขปรับปรุง
ซึ่งต้องใช้งบประมาณมาสนับสนุนจำนวนมาก
๔. ด้านบุคลากร - ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง
เช่น การจัดการเดินรถและการจราจร เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเดินรถและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของกรมการขนส่งทางบก
มีความรู้เกี่ยวกับงานวิศวกรรมจราจรและงานช่าง เป็นต้น
๕. ด้านกฎหมาย
-
การบังคับใช้กฎหมาย/ระเบียบ/เงื่อนไขการเดินรถกับผู้ประกอบการเดินรถ พนักงานขับรถ พนักงานขายตั๋ว
เทศบาลฯ ไม่สามารถบังคับใช้โดยตรงได้ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการ
ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาทิเช่น กรณีรถสองแถวไม่เข้าใช้บริการสถานีขนส่ง
เป็นผลทำให้รายได้ของสถานีขนส่งลดลง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายกับรถสองแถวให้เข้าใช้สถานีจะต้องแจ้งสำนักงานขนส่งจังหวัดดำเนินการซึ่งไม่แก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีได้
เป็นต้น
แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
๑. ด้านงบประมาณ
- ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบประมาณทั่วไปเทศบาลนครลำปาง
- ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางในการก่อสร้าง/ย้ายห้องสุขาชาย-หญิงลงมาไว้ชั้นล่าง
- ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางในการก่อสร้างสถานีขนส่ง
แห่งที่ ๒
๒. ด้านการดำเนินการ - กรณีหากมีการดำเนินการนอกเหนือจาก
๑๕ ภารกิจ ทำหนังสือหารือ/แจ้งขอรับความเห็นชอบจากธนารักษ์จังหวัด
๓. ด้านสถานที่ - สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่ง
แห่งที่ ๒ โดยการแต่งตั้งคณะทำงานสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมเขตเทศบาลนครลำปาง
๔. ด้านกฎหมาย - ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายมาประจำสถานีขนส่งฯ เช่น ทหาร ตำรวจ เป็นต้น
***********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น